วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชา : ภาษาไทย


การเขียนเรียงความ
บางคนคิดว่าการเขียนเรียงความเป็นเรื่องที่ยาก แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ยากอะไรเลย เพียงแค่เราต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะเขียน เราต้องมีจุดมุ่งหมายในการเขียนเรียงความเท่านั้นเอง อย่างเช่น
วันครู ธรรมชาติ การพูด สำนวน ฯลฯ

แต่ก่อนอื่นเราต้องรู้จักส่วนประกอบของเรียงความก่อน คือ
1.คำนำ คือ ส่วนที่เป็นการเกริ่นนำ เนื้อเรืองนั้นๆ
2.เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่บอกและอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
3.สรุป คือ ส่วนที่ทำการสรุปข้อคิด ที่เราจะสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้
ตัวอย่างการเขียนเรียงความ



เรียงความเรื่อง ธรรมชาติ
             ธรรมชาติในพจนานุกรมหมายถึง สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงาม มีสัตว์และต้นไม้นานาชนิดมากมาย อาทิ นก ป่าไม้ แม้แต่ตึกรามบ้านช่อง รวมถึงสิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเราก็นับเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน
            บางคนคิดว่าธรรมชาติต้องอยู่ในป่า แต่ความจริงแล้ว ธรรมชาตินั้นอยู่รอบตัวเรานี้เองไม้ได้อยู่ที่ไหนไกล สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานี้แหละคือธรรมชาติ แต่เราจะรู้ได้ไงละว่าธรรมชาติมันมีข้อแตกต่างกันมั้ย? ธรรมชาติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองตามกาลเวลา กับธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามเวลาเช่นภูเขา ทะเล ฯลฯ สรุปง่ายคือ สิ่งที่มนุษไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ธรรมชาติที่มนุษย์สร้างขึ้นคือสิ่งที่มนุษย์สรางขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสดวกในชีวิต (สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเองได้)
              อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ต้องการธรรมชาติที่เหมาะสมกับตัวเอง เพราะฉนั้นเราก็ควรที่จะช่วยกันสร้าง รักษา และฟื้นฟูธรรมชาติให้ดีขึนกว่าเดิม

ความรู้วิชา : วิทยาศาสตร์





กล้องจุลทรรน์แบบใช้แสง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กล้องจุลทรรศน์

ความรู้วิชา :คณิตศาสตร์



ความรู้วิชา :สังคมศึกษาฯ


กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

ประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 
พระราชบัญญัติอาหาร 2522 
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2530 
โดยมีรายละเอียดอย่างย่อๆดังนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ ๕ ประการคือ 
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

2. การก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือ 
- พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องมาจากการกระทำของ     ผู้ประกอบธุรกิจ
- ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควร     ทราบ

3. การกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญได้แก่
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา



พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522


กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีการประกาศให้อาหารใดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
2. ให้มีคณะกรรมการ คือคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกรณีต่างๆ เพื่อควบคุม           คุณภาพของอาหาร
3. กำหนดให้มีการขออนุญาตเพื่อผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหาร
4. กำหนดลักษณะของอาหารลักษณะต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือห้ามผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อ                จำหน่าย ได้แก่
    1. อาหารไม่บริสุทธิ์
    2. อาหารปลอม
    3. อาหารผิดมาตรฐาน


พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530


เนื้อหาสาระที่สำคัญของพระราชบัญญัติยา ได้ กำหนดประเภทของยาไว้หลายประเภทด้วยกันเพื่อสะดวกในการควบคุม และกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการยาการควบคุมพรบ.ยากำหนดให้มีการควบคุมการผลิต และการขายยาโดยเภสัชกรและผู้ประกอบโรคศิลป แล้วแต่ประเภทของยา

พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ได้แบ่งยาออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. ยาแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ
3. ยาสามัญประจำบ้าน
4. ยาอันตราย
5. ยาควบคุมพิเศษ
6. ยาบรรจุเสร็จ
7. ยาสมุนไพร
8. ยาใช้ภายนอก
9. ยาใช้เฉพาะที่


หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค


1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่ตรวจสอบและคุมภาพของอาหารและยา เช่น อาหารกระป๋อง
เครื่องสำอางและยา

2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ของผู้บริโภค
ที่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ควบคุมการโฆษณาสินค้า ที่เป็นเท็จ หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ภาชนะและเครื่องมือในครัวเรือน

1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการ
- สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้การพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ เมื่อมีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องบังคับตามกฎหมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเฉพาะเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้ากรณีไม่มีกฎหมายใด หรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป

2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข

- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์

- พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงยุติธรรม

- พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินคดีแต่อย่างใด

กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล


5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล



สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหนาวยงานที่คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค

นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครอวผู้บรืโภค

ความรู้วิชา : การงานอาชีพ


การทำตุ๊กตาการบูร

วัสดุ-อุปกรณ์

1.ถุงเท้าขนาดเล็ก หรือถุงเท้าเด็ก (สีอะไรก็ได้ แต่ที่แนะนำคือมองดูสวย ดังนั้นควรจะเป็นสีสดหรือออกฉูดฉาด:นก แนะนำ)
2.การบูร
3.ใยสังเคราะห์ (ใช้เกรดต่ำเช่น A ตัวเดียวก็ได้:นก แนะนำ)
4.เชือกผ้าเส้นใหญ่ เส้นเล็ก
5.เข็ม ด้าย หนังยาง กาวลาเท็กซ์
6.ตาตุ๊กตา กิ๊บติดผม

วิธีการทำ 

1.ตัดถุงเท้าตรงส่วนส้นเท้าออก (ตามรูป) จะได้ถุงเท้าเป็น 2 ส่วน (พยายามให้รอยตัดเป็นเส้นตั้งฉาก)
2.นำก้อนการบูรหุ้มด้วยใยสังเคราะห์ แล้วใส่เข้าไปในถุงเท้าส่วนที่ 1 จัดรูปทรงให้เป็นก้อนกลม แล้วใช้หนังยางรัด และนำส่วนที่ 2 มาพับส่วนปลายเข้าด้านในสวมรอบในส่วนที่ 1 (ส่วนที่ 2 มียางยืดของถุงเท้าอยู่ทำให้ครอบแล้วแน่นหนาไม่เลื่อนหลุด)
3.นำเชือกผ้าขนาดยวพอประมาณ มามัดปมทั้งสองข้าง แล้วมัดเชือกที่คอตุ๊กตาปิดหนังยางให้มิด (ตามรูป) และนำอีกเส้นมัดปม 2 ข้าง มาทำเป็นขาตุ๊กตาเย็บด้ายติดกับตัวเสื้อตุ๊กตา
4.ตกแต่งหน้าตุ๊กตา โดยใช้กาวลาเท็กซ์ติดลูกตา นำกิ๊บมาติดที่หมวก ส่วนปากใช้เชือกผ้าเส้นเล็กหรือใหมพรมชุบกาวติดลงไป
5.ทำเชือกแขวนเย็บติดที่หัวตุ๊กตา (อย่าทำที่หมวกเพราะอาจหลุดจากตัวตุ๊กตาเวลาแขวน)เท่านี้เราก็ได้ตุ๊กตาการบูรน่ารักๆ ไว้แขวนตกแต่งประดับห้อง ทั้งนี้อาจตกแต่งเพิ่มเติมจากตัวอย่างได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ เช่น อาจติดดอกไม้ที่หมวก ให้ดูเป็นตุ๊กตาผู้หญิง หรือหาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าพันคอให้เหมือนตุ๊กตาเมืองหนาวหรือจะสลับสีถุงเท้าคนละข้างกันก็เก๋กู๊ด 

https://youtu.be/e40pRKSOjaU
ทำดอกไม้จากถุงพลาสติก

อุปกรณ์


- ถุงพลาสติก วัสดุหลักในวันนี้เลย
- กรรไกร
- ลวดสีหรือเชือก ด้าย 
- วัสดุที่จะเอามาทำก้านดอกไม้ อาจใช้ไม่เสียบปลาดุก หลอดกาแฟ แต่นกเลือกใช้ก้านสำเร็จรูปค่ะ
- ผ้า กระดาษสา หรืออื่นๆ เอาไว้ตกแต่งช่อดอกไม้ค่ะ 
นอกจากถุงพลาสติกแล้ววัสดุอื่นที่นำมาใช้ไม่ตายตัวนะคะ เพื่อนๆสามารถประยุกต์ข้าวของต่างๆที่มีอยู่ในบ้านมาใช้แทนได้ค่ะ

วิธีทำ

1. ตัดถุงพลาสติกให้เป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัตให้มีขนาดเท่ากันทุกแผ่น นำมาซ้อนกันให้ได้ประมาณ 15-20 แผ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการว่าอยากได้ดอกใหญ่เล็ก หนาบางแค่ไหน แล้วแต่เราเลยค่ะ
2. นำถุงที่เราซ้อนกันไว้มาพับทบไปทบมาให้เหมือนพัดที่เราเคยพับเล่นกันตอนเด็ก

4. ตัดปลายทั้งสองด้านให้ได้ลักษณะของกลีบตามที่เราต้องการเลยค่ะ นกตัดแบบมนตรงปลายกลีบเล็กน้อย โค้งข้างบนนิดหน่อย อยากให้ออกมาเป็นดอกกุหลาบ
5. คลี่ถุงแต่ชั้นออกจากกัน จนหมดทุกแผ่น
6. เราก็จะได้ดอกไม้ออกมาแล้วค่ะ
. เอาตรงลวดที่เหลือมาพันกับก้านได้เลยค่ะ ใส่ใบใส่ฐานรองดอกให้สวยนำไปจัดแจกันได้ตามสบายเลยค่ะ หรือใครจำนำไปเข้าช่อแบบดอกเดี่ยวเลยก็ได้ค่ะ

ความรู้วิชา :เทคโนโลยีสารสนเทศฯ


ชนิดของข้อมูลแบ่งตามมแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากข้อมูลชั้นต้นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้เครื่องบาร์โค้ด ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเตรื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยมีผู้หนึ่งผู้ใด ได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เช่น ข้อมูลทางสถิติต่างๆที่มีการบันทึกไว้แล้ว

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1. มีคสามถูกต้องแม่นยำ

2. มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ

3. มีความกระชับ ชัดเจน และสมบุรณ์ตรบถ้วน

4. สอดคล้องกับความต้องการของงผู้ใช้

5. ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ

ชนิดข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้องมูลได้ 2 ชนิดคือ

1. ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ข้อมูลชนิดนี้มี 2 รูปแบบ

คือ

1. จำนวนเต็ม หมายถึง ตังเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12 9 137 -46

2. ทศนิยม หมายถึง ตังเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0    12.763

ตัวอย่าง เช่น อายุ น้ำหนัก ส่นสูง

2. ข้อมูลชนิดอักขระ (character data) หมายถึง ข้อมุลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ นำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป้ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER     ON-LINE   171101 

ตัวอย่าง เช่น ชือ่ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์


ความรู้วิชา :ดนตรี-นาฎศิลป์


นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ

1. โขน


เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ

2. ละคร


เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

3. รำ และ ระบำ

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้
3.1 รำ
หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น
3.2 ระบำ
หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น

4. การแสดงพื้นเมือง

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้
4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ
เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง
4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้
เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น

ความรู้วิชา :สุขศึกษา-พลศึกษา


วิธีการเล่นปิงปอง
           กีฬาเทเบิลเทนนิส หรือ ปิงปอง ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้นั้น ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งพื้นที่บนฝั่งตรงข้ามมีเพียง พื้นที่ แค่ 4.5 ฟุต X 5 ฟุตเท่านั้น และลูกปิงปองยังมีความเบามาก เพียง 2.7 กรัม เท่านั้น และความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ยังใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาทีอีกต่างหาก แถมลูกปิงปองที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น ยังมีความหมุนรอบตัวเองอีกด้วย ซึ่งลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเรานั้น เราจะต้องตีกลับไปอีกด้วย เพราะไม่ตี หรือ ตีไม่ได้ ก็หมายถึงการเสียคะแนนทันที
           แต่ในความยากนั้น ก็ย่อมมีประโยชน์สำหรับผู้เล่นเหมือนกัน เพราะ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายร่วมกันทั้งหมด ซึ่งส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ มี
1. สายตา
สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา แต่การจ้องลูกอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เพราะจะต้องจ้องมองและสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้อีกด้วยว่า ตีลูกความหมุนลักษณะใดมาหาเรา
2. สมอง
ปิงปอง เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดเป็นอย่างมาก เพราะจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นอีกด้วย
3. มือ
มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่วและว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้
4. ข้อมือ
ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะมีความหมุนมากยิ่งขึ้น
5. แขน
ต้องมีพลกำลังและมีความอดทนในการฝึกซ้อมที่ต้องซ้อมแบบซ้ำและซ้ำอีก
6. ลำตัว
การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย
7. ต้นขา
แน่นอนว่าเมื่อกีฬาปิงปองเป็นกีฬาที่มีความเร็วสูง ต้นขาจึงต้องแข็งแรง และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
8. หัวเข่า
ต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่
9. เท้า
ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปองตลอดเวลา หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ไม่มีฟุตเวิร์ด และตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

รายชื่อระบบอวัยวะหลักๆ ในร่างกายมนุษย์
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบหลักๆ 11 ระบบ
ระบบทางเดินอาหาร - การดูดซึมสารอาหาร และขับถ่ายกากอาหารออก
ระบบโครงกระดูก - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
ระบบกล้ามเนื้อ - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว สร้างความร้อน
ระบบประสาท - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยสัญญาณทางไฟฟ้าเคมี
ระบบต่อมไร้ท่อ - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยฮอร์โมน
ระบบไหลเวียนโลหิต - ขนส่งสารภายในร่างกาย
ระบบหายใจ - กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และดูดซึมแก๊สออกซิเจน
ระบบสืบพันธุ์ - ผลิตลูกหลานเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ระบบปกคลุมร่างกาย - ปกคลุมร่างกายภายนอก
ระบบน้ำเหลือง - ควบคุมของเหลวในร่างกาย และทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ - ขับถ่ายของเสีย และควบคุมสมดุลเกลือแร่ 

ความรู้วิชา : ศิลปะ


  • องค์ปะกอบศิลป์
    หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง  ของทัศนธาตุต่าง  เช่น  จุด  เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  สัดส่วน  แสงเงา  สี  ช่องว่าง  และลักษณะผิว  มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อความหมายทางศิลปะได้  โดยยึดหลักการจัดดังนี้ 
    1.เอกภาพ
    2.ความสมดุล
    3.ความกลมกลืน(คล้อยตาม,ขัดแย้ง)
    4.จุดเด่น,จุดเน้น



    ทัศนธาตุ หมายถึงอะไร?
    ทัศนธาตุ หมายถึง  ธาตุแห่งการมองเห็นหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญในงานศิลปะหรือทัศนศิลป์ได้แก่ จุด เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำส่วนประกอบแต่ละอย่ามาสร้างเป็นงานศิลปะได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกในการมองเห็นที่แตกต่างกันไป ทัศนธาตุ สามารถสร้างอารมณ์ต่าง ๆ ให้กับคนดู จึงเป็นความรู้พื้นฐาน นับตั้งแต่ จุด เส้น รูปร่าง- รูปทรง แสง เงา น้ำหนักอ่อน – แก่ สี พื้นผิว มักมีปรากฏอยู่ในความงามอันละเอียดอ่อนของธรรมชาติ 
    ทัศนธาตุ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
    ทัศนธาตุ ประกอบไปด้วย
    1.จุด
    2.เส้น
    3.รูปทรง รูปร่าง
    4.นำ้หนักอ่อน-แก่
    5.พื้นที่ว่าง
    6.พื้นผิว
    7.สี

ความรู้วิชา :ภาษาอังกฤษ







ความรู้วิชา :ภาษาจีน




ความรู้วิชา : ลูกเสือ-เนตรนารี


แถวหน้ากระดานแถวเดียว



ท่าสัญญาณ :ผู้เรียกอยู่ในท่าตรง เหยียดแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ แบมือ นิ้วทั้งห้าชิด                        ติดกัน หันฝ่ามือเข้าหากันและขนานกัน
ประโยชน์     : ใช้ตรวจเช็คหมู่ ใช้เล่นเกม
การเข้าแถว  : ให้นายหมู่วิ่งมายืนในท่าตรงเป็นหลักข้างหน้าผู้เรียก โดยห่างจากผู้เรียก ประมาณ 6 ก้าว                         ลูกหมู่เข้าแถวหลังนายหมู่ ยืนให้ตรงคอนายหมู่ข้างหน้า
การจัดแถว   : ให้ลูกเสือทุกคน (ยกเว้นนายหมู่ที่อยู่ข้างหน้า) ยื่นมือไปจดหลังท่อนบน ของผู้อยู่ข้าง                               หน้า  ระยะเคียงระหว่างลูกเสือในหมู่ 1 ช่วงแขน
การตรวจแถว: เมื่อตรวจจัดแถว ผู้เรียกจะสั่ง “นิ่ง” ลูกเสือทุกคน (ยกเว้นนายหมู่) ลดแขนลงอยู่ในท่า                             ตรง
* หมายเหตุ  : แถวตอนเรียงหนึ่ง ในกรณีที่มีหลายหมู่จะเรียกว่า “แถวตอนหมู่”


แถวตอนเรียงหนึ่ง


ท่าสัญญาณ  : ผู้เรียกอยู่ในท่าตรง เหยียดแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ แบมือ นิ้วทั้งห้า                             ชิด ติดกัน หันฝ่ามือเข้าหากันและขนานกัน 
ประโยชน์      : ใช้ตรวจเช็คหมู่ ใช้เล่นเกม 
การเข้าแถว   : ให้นายหมู่วิ่งมายืนในท่าตรงเป็นหลักข้างหน้าผู้เรียก โดยห่างจากผู้เรียก ประมาณ 6 ก้าว                          ลูกหมู่เข้าแถวหลังนายหมู่ ยืนให้ตรงคอนายหมู่ข้างหน้า 
การจัดแถว    : ให้ลูกเสือทุกคน (ยกเว้นนายหมู่ที่อยู่ข้างหน้า) ยื่นมือไปจดหลังท่อนบน ของผู้อยู่ข้าง                              หน้าระยะเคียงระหว่างลูกเสือในหมู่ 1 ช่วงแขน 
การตรวจแถว: เมื่อตรวจจัดแถว ผู้เรียกจะสั่ง “นิ่ง” ลูกเสือทุกคน (ยกเว้นนายหมู่) ลดแขนลงอยู่ในท่า                             ตรง 
* หมายเหตุ  : แถวตอนเรียงหนึ่ง ในกรณีที่มีหลายหมู่จะเรียกว่า “แถวตอนหมู่”


แถวตอนหมู่



ท่าสัญญาณ: ผู้เรียกอยู่ในท่าตรง เหยียดแขนทั้งสองออกไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ แบมือ นิ้วทั้งห้าชิด                       ติดกัน หันฝ่ามือเข้าหากันและขนานกัน 
ประโยชน์    :ใช้เรียกรวมกอง ใช้เล่นเกม 
การเข้าแถว :ให้หมู่หลัก (หมู่ที่อยู่กึ่งกลาง เช่น ลูกเสือมี 4 หมู่ หมู่ที่ 3 จะเป็นหมู่หลัก ถ้าลูกเสือมี 6 หมู่                         หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 จะเป็นหมู่หลัก) เข้าแถวตอน ตรงหน้าผู้เรียก ห่างจากผู้เรียกประมาณ 6                       ก้าว จากนั้นหมู่อื่น ๆ เข้าแถว ตอนเป็นแนวเดียวกันไปทางซ้ายและทางขวาของหมู่หลัก 
การจัดแถว  : ลูกเสือทุกหมู่ ให้นายหมู่อยู่ข้างหน้า แล้วตามด้วยลูกหมู่ รองนายหมู่จะอยู่ท้ายสุด ระยะ                           เคียงระหว่างลูกเสือในหมู่ 1: ช่วงแขน โดยให้ลูกเสือทุกคนยื่นมือขวาไปจดหลัง ท่อนบน                         ของลูกเสือที่  อยู่ข้างหน้าเป็นระยะต่อ 1 ช่วงแขน 
ระยะเคียงระหว่างหมู่: 1 ช่วงศอก 
การตรวจแถว : เมื่อตรวจจัดแถว ผู้เรียกจะสั่ง “นิ่ง” ลูกเสือทุกคน (ยกเว้นนายหมู่) 
ลดแขนลงอยู่ในท่าตรง


เงื่อนพิรอด
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
        2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ
        3. ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า
        4. ผูกเชือกรองเท้า ผูกโบ


เงื่อนขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเท่ากัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์ 
         1. ใช้ต่อเชือกขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้
         2. ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน (เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
         3. ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
         4. ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
         5. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า


เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
 ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก
           เพราะสามารถหมุนรอบได้
        2. ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง
        3. ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู
        4. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้
        5. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน


เงื่อนประมง เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนที่รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน 
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
        2. ใช้ต่อเชือกเส้นด้ายเล็กๆเช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
        3. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว(คอขวดที่มีขอบขวด)
        4. ใช้ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดใหญ่ที่ลากจูง
        5. ใช้ต่อสายไฟฟ้า


เงื่อนปมตาไก่เงื่อนปมตาไก่เป็นเงื่อนที่ขมวดปลายเชือกให้เป็นปม แต่ถ้าต้องการให้ปมเชือกมีขนาด
ใหญ่ก็ขมวดหลายครั้ง 
ประโยชน์ 
         1. ใช้ผูกร้อยหูเต็นท์
         2. ทำปมบันไดเชือก
         3. สามารถผูกเป็นเงื่อนปากขวดได้


เงื่อนผูกซุงเงื่อนผูกซุงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับผูกสิ่งของต่างๆ ให้ยึดติดกันแน่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มี
ลักษณะพิเศษ คือ ผูกง่าย แก้ง่าย แต่เป็นเงื่อนที่ยิ่งดึงยิ่งแน่น    ยิ่งดึงแรงมากเท่าไรก็จะยิ่ง
แน่นมากขึ้นเท่านั้น
ประโยชน์ 
        1. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
        2. ใช้ผูกทแยง
        3. ใช้ผูกสัตว์ เรือ แพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
        4. เป็นเงื่อนที่ผูกง่าย แก้ยาก


เงื่อนตะกรูดเบ็ดเป็นเงื่อนที่ใช้งานต่างๆ มากมาย เช่น ผูกสิ่งของต่างๆ ผูกเหล็ก ผูกรั้ว ผูกตอม่อในการสร้างสะพาน ผูกแขวนรอก ผูกสมอเรือ ผูกบันได ผูกเบ็ด
ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือแพ
       2. ใช้ผูกบันใดเชือก บันใดลิง
       3. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท 


เงื่อนผูกรั้ง
เงื่อนผูกรั้งเป็นเงื่อนที่ใช้ผูกยึดกับสิ่งอื่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถปรับ
ให้ตึงหรือหย่อนได้ตามความต้องการ
ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกเสาเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
       2. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามความต้องการ

ความรู้วิชา : แนะแนว


http://www.trueplookpanya.com/data/product/media/hash_knowledge/1956/33956/VDOA9200033956.mp4

ความรู้วิชา : คริสต์ศาสนา



ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย และเผยแพร่อย่างรุ่งโรจน์ในโลกตะวันตก ประวัติศาสตร์ของศาสนามีความยาวนานสืบทอดมาแต่ศาสนายิว แต่ก็ได้รับการต่อต้านจากศาสนายิวในช่วงของการเผยแพร่ศาสนา คือ ในสมัยที่พระเยซูออกสั่งสอนประชาชน อย่างไรก็ตามศาสนาคริสต์ยังคงยืนหยัดต่อสู่กระแสต้านของสังคมตะวันตกในสมัยนั้นมาได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะ นักเผยแพร่ศาสนาคริสต์มีจิตใจศรัทธาพระเจ้าอย่างเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นและเต็มเปี่ยมไปด้วยความ เสียสละ จึงประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำให้พวกตะวันตกในสมัยต่อมาได้เข้าสู่กระแสศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
ประวัติศาสตร์ของศาสนาคริสต์มีความสัมพันธ์กับศาสนายิวอย่างใกล้ชิด จนเป็นที่ยอมรับกันว่าทั้งสองศาสนานี้มีลักษณะเป็นศาสนาแห่งประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และไม่ใช่ประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เป็นผู้กำหนด แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าได้เข้ามาเกี่ยวข้องและกำหนดมรรคาแห่งชีวิตที่ทุกคนจะต้องดำเนินไปอย่างถูกต้อง บุคคลในประวัติศาสตร์ของทั้งสองศาสนานี้ อาทิเช่น อับราฮัม โยเซฟ โมเสส และกษัตริย์โซโลมอน ฯลฯ ล้วนเป็นศาสดาที่พระเจ้าได้ทรงกำหนดให้เป็นไปตามแผนที่พระองค์ได้วางไว้เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์ให้ถึงความรอด คัมภีร์ไบเบิลทั้งสองภาค พันธสัญญาจึงเป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะในด้านประวัติศาสตร์ของทั้งสองศาสนา
ประวัติศาสตร์ศาสนายูดายของพวกยิว ทำให้เราเห็นว่า พวกเขามีความผูกพันกับ พระเจ้ามาก เพราะพวกเขาเชื่อว่าตนเองเป็นชาติที่พระเจ้าได้เลือกให้เป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต
ศาสดาประกาศกหลายท่านได้ทำนายเกี่ยวกับการมาของ พระเมสสิยาห์ ยิ่งทำให้ชาวยิวมีความหวังมากขึ้น แม้ในปัจจุบันนี้ชาวยิวในศาสนายูดายยังคง รอคอยอยู่ แต่สำหรับชาวคริสต์พระเมสสิยาห์ คือ พระเยซูคริสต์ บังเกิดขึ้นมาในตำบลเล็ก ๆ แห่งหนึ่งชื่อเบธเลเฮมในแคว้นยูดาห์ ตรงกับปีพุทธศักราช 543วันที่บังเกิดขึ้นไม่มีการบันทึกแน่นอน แต่ศาสนจักรได้กำหนดเอาวันที่ 25 ธันวาคม ของ(คาทอลิก) ของออร์โธด็อกซ์ กำนดเอาวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี เป็นวันเริ่มคริสตศักราชที่ 1 มารดามีนามว่า มารีอา ชาวคริสต์เชื่อกันว่า นางมารีอานั้นตั้งครรภ์ไม่เหมือนสตรีอื่น เพราะเป็นการตั้งครรภ์โดยอานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้นพระเยซูจึงเป็นบุตรของพระเจ้า ส่วนโยเซฟ นั้นเป็น บิดาเลี้ยงที่มีสายเลือดสืบมาแต่กษัตริย์ดาวิด
พระเยซูในวัยเด็กนั้นมีจิตใจที่ใฝ่ในธรรม มีความชอบใจที่จะพูดถึงเรื่องธรรมกับ นักศาสนา ครั้นมีอายุได้ 30 ปี จึงรับบัพติศมา หรือการรับศีลล้างบาปจากยอห์น ซึ่งเป็น ศาสดานักบุญในสมัยนั้น การรับศีลล้างบาปนี้กระทำที่แม่น้ำจอร์แดน ต่อมาพิธีนี้ได้กลายเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวคริสต์ทุกคนที่จะต้องกระทำเพื่อประกาศตนเป็นคริสต์ศาสนิกชน
หลังจากนั้นพระเยซูได้ออกเทศนาทั่วประเทศเพื่อประกาศ "ข่าวประเสริฐ" อันเป็นหนทางแห่งความรอดพ้นจากบาปไปสู่ชีวิตนิรันดร์ การประกาศศาสนาของพระเยซูนั้นไม่ใช่เพื่อล้มล้างศาสนายูดาย แต่เป็นการปฏิรูปศาสนาเดิมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเน้นความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ในขณะนั้นได้มีผู้สนใจคำสอนของพระเยซู แต่ส่วนมากเป็นชนชั้นชาวบ้าน ที่ยากจนและชาวประมง พระเยซูได้คัดเลือกสาวกจากบุคคลเหล่านี้ได้ทั้งหมด 12 คน
สาวกทั้ง 12 คนนี้ ได้ติดตามรับใช้พระเยซูอย่างใกล้ชิดเพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่กระนั้นก็ยังมีสาวกที่มีจิตใจดื้อดึง คือ ยูดาส อิสคาริออท ยอมทรยศเพื่อเห็นแก่เงินสินบน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากคำสอนของพระเยซูมีส่วนทำให้ผู้นำศาสนา ยูดาย ขุนนางและคน ร่ำรวยบังเกิดความไม่พอใจ เพราะถูกตำหนิจึงโกรธแค้นคิดหาทางทำร้าย ด้วยการจับตัวไปขึ้นศาลของเจ้าเมืองชาวโรมัน โดยยูดายรับอาสาชี้ตัวพระเยซู เมื่อวันที่ผู้นำศาสนา ยูดายมาจับตัวพระเยซูไป สาวกทั้ง 11 คน ได้รีบหลบหนีทิ้งให้พระเยซูถูกจับไปลงโทษ โดยการตรึงกับไม้กางเขนพระเยซูถูกทรมานอย่างโหดร้ายทารุณจนสิ้นพระชนม์ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 33 ปี เท่านั้น จึงใช้เวลาประกาศศาสนาเพียง 3 ปี
ชาวคริสต์เชื่อกันว่าหลังจากที่พระเยซูได้สิ้นพระชนม์ไป 3 วันแล้วได้ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง โดยปรากฏแก่สาวกทั้ง 11 คน พวกเขาได้ทดสอบพระเยซูหลายครั้งจนมั่นใจว่าการฟื้นคืนชีพของพระเยซูนั้นไม่ใช่เรื่องหลอกลวงแต่เป็นจริง ประกอบกับการเทศนาสั่งสอนย้ำให้สาวกทั้งหลายมีความเข้าใจในพระคัมภีร์ พวกเขาทั้ง 11 คน ได้กลับไปกรุงเยรูซาเล็ม จึงร่วมกันอธิษฐานอย่างขะมักเขม้น นับแต่นั้นมาอัครสาวกทั้ง 11 คน และมัทธีอัส ซึ่งได้รับเลือกเข้ามาในภายหลังรวมเป็น 12 คน ได้ช่วยกันเผยแพร่ศาสนาอย่างมั่นคงทำให้มีผู้เข้ามาเป็นสาวกของพระเจ้ามากมาย แต่ในขณะเดียวกันการเผยแพร่ศาสนามีความลำบากเป็นอย่างมาก เพราะถูกต่อต้านอยู่เสมอจากพวกที่นับถือศาสนายูดาย
ในบรรดาสาวกของพระเยซูนักบุญเปโตรได้รับการแต่งตั้งจากพระเยซูให้เป็น หัวหน้าโดยนัยนี้ท่านจึงเป็นผู้นำสูงสุดของศาสนาคริสต์เป็นคนแรก นักบุญเปโตรได้เผยแพร่ศาสนาถึงกรุงโรม และได้เลือกกรุงโรมเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของศาสนจักร ในบั้นปลายชีวิตของท่านนั้นได้ถูกพวกทหารโรมันจับทรมานและประหารชีวิต
ความเจริญของศาสนาคริสต์ได้มีมายาวนาน จนกระทั่งถึงยุคล่าอาณานิคมของพวกจักรวรรดิ์นิยมชาวยุโรปและอเมริกัน ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15-16